วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

ธนาคารโลก



 
ธนาคารโลก (World Bank) มีอีกชื่อว่า ธนาคารเพื่อการบูรณะแลพัฒนาระหว่างประเทศ ( International Bank for Reconstruction and Development; IBRD) เป็นองค์กรระหว่างประเทศ ที่จัดตั้งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยประเทศมหาอำนาจในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ในคราวที่จัดตั้งขึ้นมานั้น ได้จัดตั้งขึ้นมาพร้อมๆ กับ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ( International Monetary Fund; IMF ) โดยทีแรก มีการแบ่งหน้าที่อย่างชัดเจน IMF ทำหน้าที่ ให้เงินกู้แก่ประเทศที่มีปัญหาดุลการชำระเงิน เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น ส่วน ธนาคารโลก จะสนับสนุนการพัฒนาระยะกลางและระยะยาวในรูปแบบเงินกู้ยืม  โครงการพัฒนาที่เน้นเฉพาะเป็นโครงการไป  แต่เมื่อเวลาผ่านไป ช่วงที่โลกเกิดวิกฤตการณ์การเงินในคริสตทศวรรษ  1970  และ  1980  ธนาคารโลกก็เริ่มปล่อยเงินกู้ระยะสั้น  เพื่อการปรับปรุงเชิงโครงสร้างประสานกับกองทุนด้วยเช่นกัน
ธนาคารโลก เป็นองค์กรที่อยู่ในสังกดองค์การสหประชาชาติ ( UN ) มีประเทศสมาชิก 187 ประเทศ เงินทุนของธนาคารโลก ได้มาจากการจำหน่ายพันธบัตรในตลาดการเงินสำคัญของโลก ค่าบำรุงจากประเทศสมาชิก และค่าเงินหุ้น
สาขาใหญ่ 
  1. สาขาวอชิงตันดีซี 1818 H Street N.W. Washington, D.C. 20433, U.S.A.
  2. สาขานิวยอร์ค 1 Dag Hammarskjold Plaza 885 2nd Avenue, 26th Floor New York, N.Y. 10017, U.S.A.
  3. สาขาปารีส 66 avenue d’Iéna 75116 Paris, France
วัตถุประสงค์ 
เพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิกที่ได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่สอง โดยให้สมาชิกกู้ยืมไปเพื่อบูรณะซ่อมแซมและพัฒนาประเทศ ต่อมาได้ขยายขอบเขตของการบริการออกไปเป็นการสนับสนุนการลงทุนเพื่อการพัฒนา และเพิ่มผลผลิตในประเทศที่กำลังพัฒนา เพื่อยกระดับชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศสมาชิก ตามลักษณะกิจการที่จะลงทุนและตามความจำเป็นและยังช่วยเหลือสมาชิกด้วยการให้ บริการด้านความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับการวางแผนการลงทุนและบริหารการเงิน

โครงสร้างและสมาชิกของกลุ่มธนาคารโลก

                ลักษณะโครงสร้างในระดับสถาบัน ธนาคารโลก (World Bank) ประกอบไปด้วยองค์กร 2 องค์กร คือ IBRD และ IDA ส่วน IFC และ MIGA นั้น เป็นเพียงองค์กรในสังกัดซึ่งทั้ง 4 องค์กรรวมกันเรียกว่า กลุ่มธนาคารโลก (World Bank Group) เป้าหมายที่ได้มีการระบุไว้ของกลุ่มธนาคารโลกคือ การให้ความช่วยเหลือ (ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน , คำปรึกษาแนะนำ , และด้านเทคนิค) แก่ประเทศสมาชิก เพื่อยกระดับมาตรฐานการ      ครองชีพของประชาชน (โดยเฉพาะในประเทศด้อยพัฒนา) ด้วยการถ่ายโอนทรัพยากรจากประเทศพัฒนาแล้ว ส่วนกิจกรรมหลักของกลุ่มธนาคารโลกมีอยู่ 3 ประการคือ (ก) ให้เงินกู้ยืม (ข) ให้คำปรึกษาในด้านการพัฒนาประเทศ (ค) กระตุ้นและส่งเสริมการลงทุนระหว่างประเทศ
                ส่วนโครงสร้างการบริหารของธนาคารโลก ประกอบด้วยส่วนหลัก 2 ส่วน คือ สภาผู้ว่าการ (Board of Governor) และ คณะกรรมการบริหาร (Board of Executive Directotors) ภายใต้ธรรมนูญของธนาคารโลก อำนาจการตัดสินใจสูงสุดจะอยู่ที่สภาผู้ว่าการ ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนของประเทศสมาชิก ประเทศละ 1 คน (ในปี พ.ศ. 2534 นี้ จะอยู่ในตำแหน่งวาระ 5 ปี และมีการประชุมปีละหนึ่งครั้ง (ครั้งต่อไปคือที่กรุงเทพฯ ในเดือนตุลาคม 2534) บทบาทด้านหลักของสภาผู้ว่าการ คือ การกำหนดสมาชิกภาพ การเพิ่มหรือลดทุนของธนาคาร การกำหนดนโยบายการดำเนินงาน ฯลฯ สิ่งที่น่าสังเกตเกี่ยวกับสภาผู้ว่าการธนาคารโลก คือ การที่สมาชิกของแต่ละประเทศจะมีเสียงโหวตที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจำนวนหุ้นของธนาคารโลกที่ประเทศนั้น ๆ ถืออยู่ (ผลของความไม่เท่าเทียมกันในเสียงโหวต)